Monday, August 20, 2007

Ariocarpus : ราก

Ariocarpus : ตัดราก, รากนิ่ม


คือถ้าเรา Bare Root นี่ เขาจะอยู่ได้กี่วันอ่ะคับ

โดย NuT - [5 มิ.ย. 2548]



5 มิ.ย. 2548


เป็นเดือนครับ หรือรอจนกว่าจะเห็นรากมันงอกออกมา ค่อยปลูกก็ยังได้ แต่ต้องรดน้ำมันบ้างนะครับ ไม่งั้นไม่มีทางเห็นรากมันโผล่ออกมา เป็นสัญญาณบอกให้เรารู้ว่า " ปลูกข้าเสียทีเถิด" ได้หรอกครับ

โดย สมภพ ร้านเรือนกระบองเพชร [24 ส.ค. 2548]






พี่สมภพครับ รากเค้านุ่มมากนี่เพราะอะไรครับ เพราะน้ำมากไป ? ขอบคุณครับ

โดย NuT [5 มิ.ย. 2548 ]



5 มิ.ย. 2548


รากที่นุ่มมาก ผมไม่เห็นภาพครับ แต่เข้าใจว่า เป็นเปลือกของรากใหญ่ของ Ario ใช่ไหมครับ เพราะรากของ Ario เมื่อมีอายุมากขึ้น หรือมีขนาดใหญ่ขึ้นมันก็จะมีเปลือกหยุ่น ๆหุ้มอยู่ครับ นี่ก็คือข้อดีของเปลือกที่หุ้มรากนี้เพื่อปกป้องรากที่อยู่ภายใน และเมื่อเรารดน้ำถูกมัน โดยที่เรายังไม่ปลูก เปลือกนี้จะเป็นตัวดูดซับน้ำ (ทำหน้าที่เหมือนฟองน้ำ) ไว้เพื่อที่จะล่อให้รากใหม่ งอกทะลุออกมาครับ ผมว่าไม่เป็นไรครับอย่าไปลอกมันออกแล้วกัน

โดย สมภพ ร้านเรือนกระบองเพชร [ [24 ส.ค. 2548]




Ariocarpus : รากเปลือย
พลังชีวิตของ Ariocarpus . . .


พลังชีวิตของ Ariocarpus . . .

Bare Root ไว้ประมาณ 3 เดือนกว่าๆแล้ว ไม่ค่อยมีเวลาเรียกรากเลย

พอมาวันนี้ไม่ค่อยสบาย ว่างๆเลยเอาซะหน่อย

ปกติผมวางเอารากชี้ฟ้า หน้าคว่ำดิน พอพลิกขึ้นมาดู

โต๊ะจายโหมะเลย รู้งี้รีบๆเรียกรากไปนานแล้ว เสียดายมากๆๆๆ

NuT

[1 ธ.ค. 2548]



รากยังไม่ออก ดอกก็บานซะแล้วครับ

NuT

[1 ธ.ค. 2548]



bare root ไว้ตั้ง 3เดือนแล้ว น่าจะปลูกได้แล้ว

ผสมดินโปร่ง ใส่วัสดุช่วยระบายน้ำมากหน่อย

ใหม่ๆ อย่ารดน้ำชุ่ม สัก 2-3 อาทิตย์ รากก็ออกได้

ดูจากสภาพไม้ที่เห็นนะคุณ Nut ช่วงนี้ Ario. กำลังออกดอก

แคคตัสที่ยังไม่ปลูกก็ออกดอกได้

เนื่อง จากเธอมีน้ำและอาหารสะสมอยู่ครับ

ส่วนมากไม้ bare root ผมจะไม่ยอมให้เธอมีดอก

ถ้ามี ผมจะรีบเด็ดออกครับ

โดย Mont. [2 ธ.ค. 2548













Ariocarpus : เรียก ราก : ปลูกใหม่


พฤกษาชน คนรักไม้

19กย. 2547

มีคำถามขอความคิดเห็นจากใครก็ได้

1.เลี้ยงArio Fissuratus ไว้แต่เลี้ยงมาตั้งนานแล้ว รากก็ยังไม่งอกออกมา เป็นไม้ใหญ่แต่ก็ไม่ตายคล้ายกับว่าจะชงักการเติบโต มีวิธีใดบ้าง ที่จะให้รากงอกออกมา ชำเอาไว้มาเป็นเดือนก็ยังไม่งอก
2.
หากคิดจะเลี้ยงเป็นไม้ต่อกับตอ ควรจะใช้ตออะไรดี ตอหนามดำใช้ต่อได้ไหม หากต่อได้มีวิธีต่ออย่างไร เพราะใจหนึ่งอยากเลี้ยงเป็นไม้ต่อ อีกใจหนึ่งก็เสียดายเป็นไม้เลี้ยงราก แต่รากก็ไม่งอกสักที ขอความรู้ด้วยครับ ขอบคุณครับ หวังว่าคงเข้าใจถึงหัวอกคนเลี้ยงแคคตัส ฮือๆๆๆๆๆๆ


tree

21 ก.ย. 2547

อืม, ไม้ป่าหรอครับ ไม่ทราบว่าเคยมีตัดเพื่อเปิดแผล แล้วผึ่งซะห้าถึงหกวันแล้วจุ่มบีวันเพียวๆแล้วนำมาผึ่งต่อสักพัก แล้วพอดูแห้งจึงนำมาปลูกแล้วรดด้วยน้ำผสมบีวัน รึยัง
เออหรือลองปลูกกับไฮโดตรอนล้วนเรียกรากหรือยังถ้าไม่มีไฮโดตรอน ก็ลองใช้หินภูเขาไฟเพียวๆดูสิครับ
โอ้ยเหนื่อยคงเท่านี้ละครับ
ขอบคุณครับ


DEAW

21 ก.ย. 2547

คุณพฤกษา ลองตัดที่ปลายรากใหญ่ดูก่อนนะครับ ให้แผลที่ปลายรากมีขนาด1-2 ซม. อย่าให้แผลใหญ่กว่านี้นะครับ เดี๋ยวเน่าง่าย ดูที่รอยตัดว่าเนื้อที่ราก ยังสดดีอยู่หรือเป็นแผลเน่า,เนื้อยุ่ย หรือ เนื้อแห้งแข็ง ถ้าเนื้อแผลที่รากสด ก็ให้ทายาเร่งราก (รูสโกร) ทันทีที่ตัด แล้วทายากันรา (เบนเลท) อีกครั้ง ทิ้งไว้ที่รำไร แดด 50 % โดยไม่ต้องปลูกอย่างน้อย3-4 อาทิตย์ หรือรอให้เริ่มเห็นตุ่มรากก่อน ค่อยปลูก แต่ถ้าเห็นแผลที่รากตรงรอยตัดมีสภาพไม่ดีก็ให้หาตอ Ritterocereus ใหญ่ๆต่อไปได้เลยครับ





มือใหม่เริ่มปลูก

9 พ.ย.47

ต้น ario ที่บ้านหลุดจากกระถาง ไม่ทราบว่า สามารถลงกระถางปลูกใหม่ได้เลย หรือเปล่า หรือว่าจะต้องปล่อยไว้ สัก 1 อาทิตย์ แล้วค่อยลงดิน


Mont.

9 พ.ย. 2547

ถ้ารากไม่ช้ำ ลงปลูกได้เลย ระวังเรื่องการให้น้ำ ควรรดพอชื้นไปก่อน สัก1เดือนค่อยเพิ่มตามปกติ แต่ถ้ารากช้ำ ควรตัดแต่งรากและทิ้งไว้สัก 1-2เดือน แล้วเข้ากระบวนการเร่งรากครับ
















ระบบราก Ariocarpus
จากกระทู้ 3447
www.mycacti.com

มี 2 คำถามครับ..

1. ผมเจอว่า Ario ที่บ้านรากและโขดผุ เลยเอาขึ้นมาล้างรากและเอาส่วนที่ผุออก และยังเจอว่าโขดมันมีลักษณะเหมือนจะเน่าหรือติดเชื้อโดยมีส่วนที่เป็นสีน้ำตาล เลยใช้มีดตัดส่วนที่เป็นสีน้ำตาลออก แต่ตัดไปตัดมา ไม่รู้ว่าไปตัดโดนอะไรเข้าเกิดมีน้ำเหนียวสีขาวขุ่นไหลออกมา (เป็นน้ำครับ ไม่ใช่ยาง) ผมไม่ได้ทำอะไรต่อ แค่ล้างออก แล้วก็ทายาเร่งรากและผึ่งไว้ เมื่อเช้ามาเจอว่าน้ำที่ว่ายังไหลออกมาจากจุดเดิมอีก อยากจะถามว่าน้ำที่ว่ามันคื ออะไร มีอันตรายกับต้นไม้มั้ย (ถ้าไหลออกมาอีก) แล้วจะทำไงกับเค้าต่อดีครับ

2. ผมได้ยินจากผู้รู้ท่านนึงว่าปัจจุบันมีวิธีต่อตอพวก Ario (ตั้งแต่ตอนเล็กๆ) โดยต่อได้เนียนมากพอโตขึ้นรากของตอจะกลืนเป็นเนื้อเดียวกับต้นและดูไม่รู้เลยว่าเป็นรากตอ (เพราะดูเหมือนโขดจริงๆ) แล้วก็เอามาขายโดยหลอกว่าเป็นไม้เพาะเมล็ด มันมีจริงป่ะครับ
** คำถามนี้ไม่ได้ anti การต่อตอแต่อย่างใดนะครับ อยากถามเป็นความรู้ครับ


เอ
18 ธ.ค. 2549


1. น้ำที่ออกมาจากรากของอาริโอ ผมก็ไม่ทราบว่าเค้าเรียกกันว่าอะไร แต่ผมมั่วเรียกว่า น้ำเลี้ยงละกัน ไม่มีอันตรายครับ อาริโอเค้าสะสมอาหาร แล้วก็น้ำไว้ที่โขดในราก น้ำตัวนี้จะช่วยสมานแผลให้เวลารากของตัวเค้ามีแผลด้วย แต่ถ้าดูแลไม่ดีถ้าเกิดติดเชื้อก็ไปได้ง่ายๆครับ

2. ปัจจุบันเมืองนอกเค้าก็เริ่มต่อ seedling อาริโอกันตั้งแต่ยังเล็กๆแล้วครับ แต่ รากของตอจะกลืนเป็นเนื้อเดียวกับต้น ? หมายถึงรากมันอ้าปากแล้วเขมือบเนื้อตอของมันเองที่อยู่ด้านบนรึฮะ ?? แล้วระหว่าง อาริโอที่ต่อบนตอ ถัดมาก็ตอ แล้วก็ค่อยเป็นรากของตอ รากมันจะกลืนเป็นเนื้อเดียวกันยังไงอ่า ?

แต่ ถ้าเราตัดอาริโอที่อยู่บนตอ ลงจากตอโดยที่ยังเหลือโขดไว้นิดหน่อย อาริโอต้นนั้นสามารถสร้างโขดขึ้นมาใหม่ได้ครับ ส่วนที่มีคนเอามาหลอกขาย อันนี้ผมไม่ทราบครับ บางทีท่านเจ้าของต้นไม้อาจจะตัดลงมานานแล้วเป็นปีจนลืม พอจะเอามาขายดูมันมีโขดก็นึกว่าเป็นไม้ราก ก็เลยบอกไม้รากก็ได้ครับ
NuT
18 ธ.ค. 2549

พอพี่ เอ เปิดประเด็นมา ผมเลยสงสัยมั่งเลยว่า

1. แล้วคนปกติทั่วไป เค้าทราบได้อย่างไรครับ ว่าอาริโอต้นนี้ เคยต่อแล้วตัดลงมาก่อน จนเนียนเป็นไม้ราก เค้ามีวิธีสังเกตุอย่างไรเอ่ย ?

2. แล้วระหว่างไม้ราก กับไม้ต่อตัดลงที่รากออกมาโขดใหญ่เนียนไม่แพ้ไม้รากแท้ ไม้ทั้ง 2 ชนิดนี้ มีข้อดี - ข้อเสีย ต่างกันอย่างไร ? แล้วพอจะมี ข้ออ้างอิงได้จาก ผลการทดลองที่ไหน หรือไม่ อย่างไรครับ ?

ผมถาม รายละเอียดเยอะไปไหมนะ >.<
NuT
18 ธ.ค. 2549


ข้อ 1 นัทตอบแล้วครับ

ข้อ 2 ต่อให้รากของต่อกลืนเป็นเนื้อเดียวกันอย่างไรก็ดูออกครับ เพราะเนื้อของรากต่อ กันเนื้อของราก Ario ต่างกันครับ

ตอบคุณนัทครับ


1. วิธีสังเกต อย่างแรกก็ต้องดูว่าเป็น Ario ตัวไหน ถ้าเป็นในตระกูลจำพวก fissu เมื่อตัดลงระบบรากเค้าจะเป็นรากแขนง ซึ่งหากนานวันไประบบรากเค้าก็อาจจะใหญ่ได้ไม่มาก โดยพวกตระกูลนี้จะไม่ออกโขด ซึ่งต่างจากไม้รากที่ได้มาจากการเพาะเมล็ด ระบบรากจะออกมาในลักษณะเป็นโขดลงมากับตัวต้น

แต่ถ้านำ Ario พวก trigo retusus furfur เมื่อนำมาตัดลงโดยไม่เหลือแกน ระบบรากที่ได้จะออกมากในลักษณะโขดหรือหัวโสมแต่หลายทาง ซึ่งหากลองสังเกต ไม้รากระบบรากจะออกมาเป็นทังลงมาก่อนแล้วค่อยมาแยกย่อยเป็นโขดที่หลัง

ข้อ. 2 เมื่อตัดลงแล้วเป็นรากตัวเองแล้วโดยไม่มีแกนต่อเหลืออยู่ กับไม้รากที่โตมาจากการเพาะเมล็ด ผมว่าก็ไม่ต่างกันครับ ต่างกันก็ที่ใจเรายึดติดกับอะไรมากว่าครับ

แต่ว่าบางครับไม้ต่อตัดลง จำพวก trigo retusus furfur เมื่อนานไปก็ดูไม่ออกเหมือนกันครับ เพราะบางครั้งไม้ที่เพาะเมล็ดก็ออกรากย่อยเป็นโขดตั้งแต่เล็กก็มีเยอะครับ


ลองทำแล้วก็เลี้ยงดูนะครับ อาจจะได้ผลที่แตกต่าง
Mr.baso
18 ธ.ค. 2549


ขอบคุณคุณนัทและคุณบาสครับ (สมกับเป็นเซียน ario จริงๆ) เดี๋ยวพรุ่งนี้ผมถ่ายรูปต้นที่ว่ามาให้ดูเพื่อแสดงความเห็นกันชัดเจนขึ้นครับ
จริงๆ ผมก็ยังนึกไปถึงเรื่อง old plant syndrom ที่เคยมีการเปิดประเด็นไว้เมื่อตอนที่อาจารย์มนตรีไปเดินจตุจักรเมื่อไม่นานมานี้ด้วยครับ

ยังอยากได้ความเห็นจากท่านอื่นๆ ด้วยนะครับ
เอ
18 ธ.ค. 2549

รากเอริโอแตกต่างจากรากตอครับ ดูไม่ยาก ว่าเป็นรากเอริโอหรือเป็นรากตอที่มาต่อ
แต่ที่ดูยาก และเถียงกันไม่จบไม่สิ้นคือ เคยต่อมาก่อนหรือเปล่าอันนี้บอกยาก

เดียว
18 ธ.ค. 2549


เป็น Ario trigo ครับ ต้นทางซ้ายเป็นไม้ต่อแล้วตัดลงครับ ต้นทางขวาเป็นไม้เพาะเมล็ดครับ

Ario retusus ซ้ายตัดลง ขวาไม้เพาะเมล็ด
จะสังเกตได้ว่า ไม้ต่อระบบรากจะแยกออกจากฐาน แต่ถ้าเป็นไม้รากระบบรากจะมาจากฐานเดียวแล้วค่อยแยกทีหลัง
แต่เมื่อเลี้ยงต่อไปจนต้นไม้มีขนาดใหญ่ จะทำให้สังเกตได้ยากมาก เพราะขนาดลำต้นจะกลืนระบบของฐานรากจนหมด

Mr.baso
18 ธ.ค. 2549
,
Ario trigo ต้นนี้ระบบรากเค้าผุ และเกิดการทิ้งรากครับ ไม่ได้ถึงขนาดติดเชื้อขั้นรุนแรง ผึ่งให้แห้งแล้วเอาส่วนที่เป็นสีน้ำตาลแดง ๆออก พอแห้งแล้วค่อยนำมาปลูกครับ
Mr.baso
18 ธ.ค. 2549 ,


จากข้อความที่ 7 ที่หนุ่มบาส นำไม้ที่เติบโตจากรากเดิม (ขวามือ) กับไม้ที่ต่อตอมาก่อนและออกรากภายหลัง (ซ้ายมือ)จะเห็นว่าตำแหน่งการเกิดรากต่างกัน
ตามที่หนุ่มบาสกล่าวไว้ และจะสังเกตุได้ไม่ยาก
ซึ่งลักษณะรากที่ปรากฏของทั้งสองภาพที่แสดง
ผมถือว่าสมบูรณ์ดีมากแล้ว ผมมีข้อสังเกตุอีก
ประการหนึ่งจากที่ได้ต่อArio. และเปรียบเทียบ
กันมามา ก็เหมือนในรูปข้อความ 7และ8 พอดี ไม้ที่ตัดลงดิน ซึ่งอยู่ทางซ้ายของทั้งสองข้อความจะ ดูแปลก โตช้า อันนี้เป็นเพียงข้อสังเกตุที่พบจริง แต่ยังจัดเป็นงานวิจัยคงไม่ได้ครับ เนื่องจากทดลอง
กับไม้จำนวนน้อย ---ลูกหลานกล่าวถึงก็ขอแสดงความคิดเห็นเพื่อการ
ศึกษาค้นคว้าต่อไป หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์บ้าง
MONT.
19 ธ.ค. 2549


จริงๆแล้วไม้ต่อกับไม้รากก็ไม่เป็นไร เพราะการเลี้ยงไม้บางครั้งเราไม่สามารถยึดติดว่าเป็นไม้ต่อหรือไม้ราก ถ้าไม้ที่เราได้มาให้ดอกให้เมล็ดและก็สมบูรณ์ก็ใช้ได้ เพราะบางครั้งไม้บางต้นที่โคม่า เราก็ต้องต่อเพื่อความอยู่รอดของไม้ หรือไม้ที่โตช้ามาก

พฤกษาชนน คนรักไม้
19 ธ.ค. 2549

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นครับ และผมเห็นด้วยกับข้อความที่ 13 ว่าอย่ายึดติดกับไม้รากหรือไม้ต่อจนเกินไป สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์และความต้องการ ที่สำคัญคือความสุขในการเลี้ยงต้นไม้ที่เรารักมากกว่าครับ

ผมเอารูปเจ้าต้นตอของกระทู้นี้มาให้ดูเพื่อแสดงความเห็นและเป็นประโยชน์ครับ

รากที่มีปัญหาครับ
หันอีกข้างให้ดูครับ จะเห็นว่ามีน้ำเลี้ยงขาวๆ อย่างที่เล่าให้ฟัง
ว่าแต่.. ทำไมมันแห้งช้าจังครับ 1 วันเต็มๆ แล้วยังไม่แห้งเลย
หันหลังให้ดูไป 2 รูปละ หันหน้าให้ดูบ้าง หล่อมั้ยครับ?
ท่านใดมีคำแนะนำเพิ่มเติมสำหรับต้นนี้ ช่วยชี้แนะด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
เอ
19 ธ.ค. 2549


ไม้ต่อแล้วตัดลงจะมีปัญหาเรื่องการเจริญเติบโตของการแตกใบใหม่ในช่วง 2 - 3 ปีแรก เมื่อเค้าสะสมอาหารในระบบรากสมบูรณ์ดีแล้วเค้าก็จะเริ่มโตตามปกติ แล้วก็สามารถออกตอกติดเมล็ดได้เหมือนกับไม่รากทุกประการครับครับ

ตอบ คุณเอ ครับ อย่างนี้ไม่น่าเป็นห่วงครับ ระบบรากไม่ได้ติดเชื้อครับ ระบบรากมีปัญหาเค้าเลยทิ้งรากครับ ปล่อยไว้ให้แห้งแล้วเอายาฆ่าเชื้อราโป๊ะ แล้วก็ปลูกได้เลยครับ แต่แนะนำว่าในช่วงแรกอย่าเพิ่งรดน้ำเยอะนะครับ รดแค่นิดหน่อยก็พอครับ พอระบบรากเค้าเริ่มตั้งตัวได้ก็ค่อยรดน้ำตามปกติครับ
โดย Mr.baso
19 ธ.ค. 2549

ต้นนี้เป็นไม้ต่อมาก่อน แน่นอนครับ แต่ออกรากตัวเองแล้ว ดูแลดีๆหน่อย ใช้เวลาอีกนิดก็จะสวยเองครับ การที่ตัดแล้วมีน้ำขาวๆที่เห็นเป็นสัญญาณที่ดีนะครับ แสดงว่าต้นยังมีพลังชีวิตอีกพอควรทีเดียว ก็ทำเหมือนที่บาสบอกไม่กี่เดือนก็สวยเองครับ

โดย เดียว
19 ธ.ค. 2549

ชอบกระทู้นี้มากครับได้ความรู้เยอะเลย พวกรีทูซัสกะไตรโกนัส ต่อตัดลงไม่มีปัญหาอยู่แล้วรากออกมาเป็นแขนงเลย
ก็ลองทำกะตัวอื่นซิเช่นแสคปหรือบราวัวเอาง่ายๆๆฟิตซูก็ได
้แล้วจะสังเกตุถึงความต่างในระยะยาว


โดย Golfcactus
19 ธ.ค. 2549



THIS IS ALL ABOUT CACTUS AND RELATED SUCCULENT IN THAILAND.
The purpose of this website is to be a door to cactus in Thailand.
It will gradually collect whatever related to cactus
and related succulent in our country starting from
background, nursery, retail shop, cactus market, events, etc.
in order to facilitate to communications for cactus lovers worldwide
with Thai people. Another way to visit our group in English index is
http://www.thaicactus.com

No comments: